ทุกวันนี้ใคร ๆ ก็ต่างสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ เพื่อป้อนลงเว็บไซต์หรือแชนแนลอื่นๆ ของตัวเองกัน จนทำให้เกิดสภาวะ “คอนเทนต์ล้นตลาด” พร้อมกับสื่อและเนื้อหาข้อมูลหลากหลายให้เลือกเสพ แล้วจะทำยังไงให้คอนเทนต์ของคุณมีจุดเด่นเหนือคนอื่น ก่อนอื่นเรามาเริ่มด้วยคำถามแรกกันก่อน ซึ่งก็คือ “เราสร้างคอนเทนต์ไปเพื่ออะไร”
ด่านแรกของธุรกิจที่จะทำให้ผู้คนรู้ว่าธุรกิจคุณทำอะไรก็คือเนื้อหาที่นำเสนอออกไป มันสะท้อนให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของแบรนด์และการวางตำแหน่งของคุณ เป้าหมายหลักของการทำการตลาดด้วยคอนเทนต์คือให้คนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นลูกค้าของเรามีส่วนร่วมกับเรา และมันจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีกลยุทธ์ที่ดี เพราะฉะนั้นเรามาดูกลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์ที่คุณสามารถใช้ได้ในปี 2019 กันดีกว่า และเมื่อคุณเข้าใจหลักการต่อไปนี้ทั้ง 6 ข้อ คุณก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพงานเขียนของคุณได้
1. ผลิตเนื้อหาเฉพาะกลุ่ม
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนอาจเห็นว่าการผลิตเนื้อหาที่หลากหลายและเป็นหัวข้อที่จะมีคนให้ความสนใจอยู่ตลอดเวลาออกสู่สาธารณะเป็นกลยุทธ์ที่ดี แต่ในเมื่อทุกวันนี้มีการผลิตคอนเทนต์กันแทบจะตลอดเวลา กลยุทธ์นี้จะยังใช้ได้อยู่หรือเปล่า ยึดหลักการนี้แล้วจะเพียงพอมั้ย สิ่งหนึ่งที่คุณสามารทำได้เพื่อแข่งขันกับเนื้อหาของคนอื่น ๆ ก็คือปรับแต่งเนื้อหาของคุณเพิ่มเติม
เพราะฉะนั้นเนื้อหาเฉพาะกลุ่มหมายถึงคุณต้องจำกัดกลุ่มเป้าหมายให้แคบลงมา กำหนดหัวข้อแล้วผลิตสื่อออกมาให้ตอบโจทย์และแก้ปัญหาเป็นประเด็น ๆ ไป ยิ่งคุณสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกได้เท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้ผู้ติดตามที่ภักดีอยู่กับคุณมากเท่านั้น
เพราะใคร ๆ ก็ชอบเสพสื่อที่ตอบสนองความต้องการของตัวเองกันทั้งนั้น
2. ปรับแต่งเนื้อหาให้รองรับการค้นหาด้วยเสียง
ชีวิตของเรานั้นสะดวกสะบายขึ้นเมื่อมีระบบผู้ช่วยอัจฉริยะบนอุปกรณ์ต่าง ๆ แทนที่เราจะพิมพ์คำที่เราอยากค้นหาหรือคำถามต่าง ๆ ลงไปในกล่องข้อความ เราก็แค่พูดถามคำถามออกไปได้เลย แล้วเสิร์ชเอนจินก็จะแสดงผลคำตอบขึ้นมาให้ ซึ่งความแตกต่างของข้อมูลที่ป้อนลงไประหว่างการพิมพ์และการพูดด้วยเสียงจะไม่เป็นปัญหา เพราะการทำงานของอัลกอริทึมฮัมมิงเบิร์ด (Google’s Hummingbird) ทำให้กูเกิลสามารถเข้าใจคำค้นหาต่าง ๆ ในภาษาที่เป็นธรรมชาติและมุ่งเน้นไปที่การตอบคำถามอย่างที่มนุษย์ทั่วไปทำ แทนการค้นหาด้วยคำค้นหาต่าง ๆ
ตามสถิติการค้นหาด้วยเสียง ในปี 2020 50% ของการค้นหาบนอินเทอร์เน็ตจะใช้การสั่งการด้วยเสียง เพราะฉะนั้นสามารถพูดได้ว่าการค้นหาด้วยเสียงจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปในอีกไม่นาน
ภาพด้านล่างนี้คือผลการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้ระบบผู้ช่วยสั่งการด้วยเสียง
ตอนนี้คุณอาจจะกำลังมีคำถามในใจว่า “ฉันจะปรับแต่งเนื้อหาให้รองรับการค้นหาด้วยเสียงได้ยังไง” ครั้งหน้าเวลาที่เขียนเนื้อหาในบทความหรือกระทู้ต่าง ๆ ก็ลองเอาหลักการต่อไปนี้ไปทำดู
– นึกถึงการใช้งานของผู้ใช้และเน้นการค้นหาด้วยความหมายของคำ
– ให้คำตอบที่เป็นประโยชน์ในบริบทที่ถูกต้อง
– ใช้แนวการเขียนเหมือนการสนทนากับผู้อ่าน
– พยายามใช้คำค้นหาเป็นกลุ่มคำประมาณสามถึงสี่คำ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่มมากขึ้น
– ใช้ข้อมูลเชิงโครงสร้าง หรือสตรักเจอร์ดาต้า (Structured Data) บนหน้าเว็บของคุณเพื่อสนับสนุนการทำงานของเสิร์ชเอนจิน
3. ค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่ง
อีกวิธีหนึ่งที่จำทำให้เรานำคนอื่นอยู่เสมอะคือรู้ตำแหน่งของตัวเองและทำการประเมินคู่แข่ง ในส่วนนี้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ จะมีประโยชน์กับเรามาก คุณสามารเริ่มด้วยการกำหนดคำค้นหาหลักของคุณด้วยกูเกิลหรือเครื่องมือสำรวจคำค้นหา (Keyword Planner) ก่อนเป็นอย่างแรก แล้วค่อยนำคำค้นหาหลักเหล่านั้นไปใส่ในเครื่องมือสำรวจตลาดออนไลน์เช่น Ahrefs.com หรือ SEMRush เป็นต้น
เมื่อทำตามขั้นตอนข้างต้นเรียบร้อยแล้ว คุณก็จะสามารถ:
– ติดตามและสังเกตการณ์คำค้นหาต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้เพื่อเปรียบเทียบอันดับของคุณกับคู่แข่ง
– เปรียบทราฟฟิกผู้เยี่ยมชม
– ตรวจสอบแบ็กลิงก์ (Backlinks) เพื่อวิเคราะห์คู่แข่งว่าพวกเขาได้รับการเอ่ยถึงจากที่ไหนบ้างและมีกี่ลิงก์
– ระบุได้ว่าคอนเทนต์ตัวไหนได้รับความนิยมหรือทำงานได้ดี
4. โมเดลคอนเทนต์คลัสเตอร์
หรือเทคนิค “พิลลาร์ – คลัสเตอร์” (คอนเทนต์หลัก – คอนเทนต์ย่อย)
แนวคิดนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการผลิตและจัดการกับเนื้อหาใหม่ ๆ ในเชิงลึกเพื่อตอบสนองความตั้งใจของผู้เยี่ยมชม กูเกิลฉลาดขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากแล้ว มันสามารถแยกแยะระหว่างคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาคุณภาพดีและไม่ดีได้ เพราะฉะนั้นคุณจะทำให้กูเกิลประทับใจด้วยการแค่ใส่คำค้นหาลงไปในบทความเยอะ ๆ ไม่ได้ อัลกอริทึมของกูเกิลนั้นส่งเสริมการผลิตเนื้อหาแบบคอนเทนต์คลัสเตอร์มากกว่าเพราะมันพิสูจน์ได้ว่าคุณสนใจเรื่องคุณภาพเนื้อหาจริง ๆ ไม่ใช่แค่สนการทำอันดับของเว็บไซต์
ด้านล่างนี้คือแบบจำลองของโมเดลคอนเทนต์คลัสเตอร์
คุณจะต้องมีหัวข้อหลักที่เรียกว่า “พิลลาร์” ซึ่งจะครอบคลุมเนื้อหาโดยรวมของทุกหัวข้อย่อย ๆ แล้วจากนั้นก็ทำเนื้อหาของหัวข้อย่อย (หรือที่เรียกว่าคลัสเตอร์) ซึ่งภายในจะมีเนื้อหาเชิงลึกที่อยู่เฉพาะในหน้าเว็บนั้น และใช้คำค้นหาที่มีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น ๆ
ลืมวิธีการผลิตเนื้อหาแบบเดิม ๆ ที่มุ่งเน้นแต่บทความที่เต็มไปด้วยคำค้นหาไปได้เลย แล้วลงมือเขียนบทความด้วยกลยุทธ์คอนเทนต์คลัสเตอร์เพื่อมอบข้อมูลอันมีค่าให้กับกลุ่มเป้าหมายของคุณได้แล้ว
5. การปรับแต่งฟีเจอร์สนิปเป็ตส์ (Featured Snippets)
ฟีเจอร์สนิปเป็ตส์ (Featured Snippets) คือผลการค้นหาเพิ่มเติมที่กูเกิลเลือกที่จะแสดงให้กับผู้ใช้งานเพื่อให้พวกเขาได้รับคำตอบอย่างรวดเร็วจากสิ่งที่ค้นหา มันจะแสดงอยู่ข้างใต้ผลการหาที่จ่ายค่าโฆษณา (Google Ads) และอยู่เหนือผลการค้นหาทั่วไป
จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ Ahrefs 99% ของหน้าเพจผู้ผลิตเนื้อหาหยิบมาเป็นตัวนำ (Featured Pages) นั้นติด 10 อันดับแรกของกูเกิลอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหากคุณมีคำค้นหาที่อยู่อันดับสูง ๆ ก็จะมีโอกาสที่จะได้รับการแสดงผลแบบเพิ่มเติม ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มยอดทราฟฟิกมายังเว็บไซต์คุณได้
ประเภทของคำค้นหาที่มักจะได้รับการให้ความสำคัญตามข้อมูลจาก Ahrefs:
– คำค้นหาเป็นกลุ่มคำประมาณสามถึงสี่คำ (Long-tail Queries/Long-tail Keywords
– คำค้นหาเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ DIY (ทำ…เอง) สุขภาพ การเงิน การคำนวณ การเปรียบเทียบ
เพราะฉะนั้นควรพิจาณาอะไรบ้างเวลาที่ปรับแต่งเนื้อหาเพื่อฟีเจอร์สนิปเป็ตส์
5.1 ทำการสำรวจคำค้นหา:
– คำค้นหาที่เป็นประเภทคำถาม เช่น “…คืออะไร” “ทำไม…” “ทำ…ยังไง” “วิธี…” เป็นต้น
– สำหรวจคำถามที่พบบ่อยบนกูเกิลและโซเชียลมีเดียอื่น ๆ
– ใช้กูเกิล เสิร์ช คอนโซล (Google Search Console) ให้เป็นประโยชน์ มันช่วยให้คุณสามารถระบุได้ว่าคำค้นหาคำไหนจะทำให้คนคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์คุณ
5.2 ให้ความสำคัญกับเนื้อหาบนเว็บไซต์:
– กูเกิลชอบเนื้อหาที่มีข้อเท็จจริงและการวางโครงสร้างมาอย่างดี เพราะฉะนั้นถ้าคุณมีข้อมูลเชิงเปรียบเทียบก็ควรทำเป็นตารางหรือรายการ
– ลองพยายามรวบรวมคำถามที่เกี่ยวข้องไว้ในบทความเดียว
6. โปรโมต โปรโมต และโปรโมตเข้าไปอีก!
ที่จริงแล้วขั้นตอนสุดท้ายนี้สำคัญมาก ๆ แต่น่าเสียดายที่มักจะถูกผู้ผลิตเนื้อหามองข้าม จงทำให้คนเห็นคอนเทนต์ที่คุณสร้างขึ้นมา ไม่ว่าบทความของคุณจะดีเลิศขนาดไหน ถ้าไม่มีใครเห็นมันก็ไม่มีความหมายอะไร อย่าลงแรงไปกับการผลิตมันขึ้นมาเพียงอย่างเดียว ต้องเผยแพร่งานของคุณออกไปบนพื้นที่สื่อของตัวเองอย่างการแชร์ลงโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือลิงก์อิน ของคุณด้วย หรือจะเป็นการร่อนจดหมายข่าวอีเล็กทรอนิกส์ (e-newsletters) เลยก็ได้ ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มยอดวิวให้กับคอนเทนต์และส่งไปให้กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ
แหล่งอ้างอิง: www.coredna.com, moz.com