App Indexing คืออะไร?

นั่นสิ App indexing มันคืออะร้ายยย? เคยได้ยินคำนี้กันมั้ย? เคยหรือไม่เคย? แต่ไม่เป็นไรนะ อย่าเพิ่งมึนไป เพราะจริง ๆ แล้วมันไม่ได้ซับซับซ้อนเลยค่ะ  การทำ App index นี้จะเกิดขึ้นเมื่อ Google ปล่อยบ็อท หรือเจ้าสไปเดอร์ไปลงพื้นที่สำรวจตามเว็บเพจต่าง ๆ เพื่อดูข้อมูลที่อัพเดทใหม่ไงล่ะ   บรรดาสไปเดอร์จะ Crawl ไปทั่วเว็บ แล้วเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำที่ User ใช้เสิร์ช   มองให้เป็นการเอานิตยสารฉบับล่าสุดมาวางบนชั้นให้คนอ่านเห็น แทนที่จะวางเล่มเก่าของ 10 ปีที่แล้วก็ได้! เนื่องจากข้อมูลในเน็ตจะมีการอัพเดทอยู่ทุกวัน สไปเดอร์น้อยนี่แหละจะเป็นคนช่วยกระซิบบอกอากู๋ Google ว่าควรโชว์อะไรให้ User  เห็นบนหน้าแสดงผลเสิร์ชดี

(การอัพฯคอนเทนต์ใหม่ ๆ เรื่อย ๆ เป็นมงคลอันสูงสุด! จริง ๆ !)

เมื่อปี 2013 Google ได้ปล่อยกองทัพสไปเดอร์ออกไปสำรวจเว็บไซต์ และเว็บไซต์มือถือต่าง ๆ ตามเดิม แต่ก็ไม่เหมือนเดิมนิดนึง เพราะว่าอากู๋สั่งให้สไปเดอร์สแกนแอพพลิเคชันด้วย App indexing เริ่มขึ้นตรงนี้แหละ

App Indexing ทำงานยังไง?

ทั่ว ๆ ไปก็สไปเดอร์จะอ่านไฟล์ Sitemap ของแอพ หรือของ Google Webmaster Tools  ความเจ๋งมันเกิดต่อจากนี้แหละ เมื่อ user เสิร์ชหาอะไรซักอย่างในมือถือ ก็อาจจะเห็นหน้าแสดงผลที่มีหน้าตาแบบนี้:

 

Deep Linking
ขอบคุณข้อมูลจาก: appleinsider.com

จากภาพจะเห็นว่าผลเสิร์ชอันดับแรกเป็นแอพ และเมื่อกดเข้าไป ก็จะเปิดแอพนั้นขึ้นมาเลย  แต่การที่จะเป็นอย่างนี้ได้ user จะต้องมีแอพที่ว่าในมือถือเท่านั้น  นอกจากนี้ การมี Deep link ยังช่วยให้ผู้ใช้ใช้งานได้อย่างราบรื่น ไม่สะดุดอีกด้วย เจ๋งดีเนอะ?

แต่! อากู๋จะไม่สามารถ crawl แอพได้เลย ถ้าแอพนั้นไม่มีสิ่งที่เรียกว่า deep link

อ้าว!Deep Link คืออะไร?

Deep Link ก็คือลิงก์ชนิดหนึ่งที่ถูกใส่ลงในแอพ และเป็นคนพาผู้ใช้ไปยังหน้าใดหน้าหนึ่งในแอพ แทนที่จะเป็นโฮมเพจ  Deep link แต่ละอันจะพาไปยังหนาที่แตกต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะกำหนดให้มันลิงก์ไปไหน  อย่างไรก็ดี ถ้าอยากให้ทำแบบนี้ได้ ก็ต้องทำให้ Google รู้ก่อนว่าแอพของคุณเกี่ยวกับอะไร ทำยังไงเหรอ? ตามนี้เลย:

  1. สำหรับ อุปกรณ์ Apple เปิดใช้ Universal Link ซึ่งก็คือ URL ที่ใช้เปิดหน้าใดหน้าหนึ่งบนเว็บไซต์ที่สอดคล้องกับแอพ
  2. สำหรับอ อุปกรณ์ Android เพิ่ม Google App Indexing API
  3. Map ว่าเว็บเพจไหนตรงกับหน้าใดในแอพโดยใช้ลิงก์ rel=alternate กับแต่ละเพจ หรือใช้ Schema markup (ของชอบคนเขียนเลยจ้า!)

กาทำ Schema ก็ไม่เลวนะ เพราะมันคือ tag ที่จะช่วยให้ข้อมูลของเรากับ Google  ทำให้สไปเดอร์สำรวจคอนเทนต์ของคุณได้ แล้วก็ดึงผลการเสิร์ชที่เกี่ยวข้องมากที่สุดไปโชว์ให้กับผู้ใช้ได้  Schema เป็นโค้ดที่ใช้ง่ายมาก ถึงจะกินเวลาโขอยู่ แต่จอร์จคะ! ของเค้าดีจริง ๆ!

Schema
ขอบคุณข้อมูลจาก: techdifferences.com

แล้วสรุปว่าจุดประสงค์ของการทำ App index คืออะไร?

ทำไมคุณถึงควรให้ความสนใจกับสิ่งนี้? เพราะการที่อากู๋ index แอพของคุณจะทำให้ Journey ของลูกค้าสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไงล่ะ  ตามสถิติแล้ว ผู้บริโภคประมาณ 48% เริ่มเสิร์ชข้อมูลผ่านอุปกรณ์พกพา และด้วยการทำ App index นี่แหละ ลูกค้าจะมีโอกาสหาคุณเจอมากขึ้น

แล้ว Search engine อื่น ๆ ล่ะ มี App indexing กันรึเปล่า? มี~  Microsoft Bing ก็ให้ Developer ลิงก์คอนเทนต์ของแอพเข้ากับผลเสิร์ชเหมือนกัน ด้วยหวังว่าจะรวบรวมแอพ และApp action ต่าง ๆ จนได้ Index ขนาดใหญ่ต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้ได้ผลการค้นหาที่ดีขึ้นในแพลตฟอร์ม iOS และ Android แทนที่จะเป็นแค่ Windows 10 อย่างเดียว

บทสรุป

โลกเรากำลังเปลี่ยนไปนะ อย่างเร็วด้วย ตามทฤษฎี ทุก ๆ คนจะมีแอพอย่างน้อย 40 แอพในมือถือของตัวเอง และเป็นไปได้มากว่าขี้เกียจติดตั้งมากไปกว่านั้นแล้วด้วย ฉะนั้น ถ้ามี App indexing ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ของเราได้ลูกค้าใหม่ ๆ มากขึ้นโดยไม่ต้องใช้วิธีแบบเสียเงิน ส่วนทางลูกค้าก็ไม่จำเป็นจะต้องติดตั้งแอพเพิ่มเพื่อเข้าถึงข้อมูล แต่ถ้าลูกค้าเห็นว่า Interface ของเราใช้ง่าย และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ก็มีโอกาสที่จะไปโหลดแอพมาใช้ และอาจกลายเป็นลูกค้าประจำไปเลยก็ได้

เจอกันบทความหน้านะ

Narisa (The Wordsmith)