SEO: เราจะออพติไมซ์ Voice Search ได้อย่างไรบ้าง?

จริง ๆ ตอนนี้ก็ค่อนข้างชัดเจนว่าการเสิร์ชด้วยเสียง (Voice search) กำลังมาเลยนะคะ และต่อไปอาจกลายเป็นสิ่งที่ทำกันจนเป็นปกติเวลาเสิร์ชก็ได้ แต่ที่สำคัญกว่านั้น เราจะทำ SEO ได้ยังไงบ้างสำหรับ Voice search? ว่าแต่สิ่งที่เรียกว่า SEO สำหรับ Voice search นี่มีอยู่มั้ย? ทำได้จริงหรือเปล่า?

ถ้าว่ากันสั้น ๆ คือ มีและทำได้จ้า

และถ้าว่ากันยาว ๆ ไม่กี่ปีมานี้ เราคงทราบกันดีว่า Google รวมไปถึงเสิร์ช เอ็นจินอื่น ๆ ต่างก็เร่งพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองอย่างไม่หยุดยั้ง และเห็นได้ชัดว่าปัญญาประดิษฐ์ และภาษาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการอัพเกรดแต่ละครั้ง อย่างที่ Google ประกาศใช้อัลกอริธึม Hummingbird ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้เข้าใจภาษามนุษย์ในเชิงความหมายได้ดีขึ้น หรือการใช้ Schemas เพื่อมาร์คคอนเทนต์ให้ฝูงบ็อทน้อยอ่านเนื้อหาได้ง่ายและเข้าใจมากขึ้น และการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า Rankbrain ของ Google เป็นต้น

Rank Brain ที่เป็น AI สำหรับการเสิร์ชของ Google ได้รับการสอนให้เข้าใจภาษาและประมวลผลภาษาที่คนใช้ (Natural Language Processing (NLP))

ขอบคุณข้อมูลจาก: neilpatel.com

หากจะออพติไมซ์ Voice search เราควรเข้าใจลักษณะของมันซะก่อน:

1 – คำค้นที่ใช้กับ Voice search ส่วนใหญ่จะยาวกว่า และมีจำนวนคำมากกว่า

ขอบคุณข้อมูลจาก: neilpatel.com

2 – คำค้นจะอยู่ในรูปคำถามมากว่าที่จะเป็นประโยคบอกเล่า ซึ่งจะทำให้เสิร์ชเอ็นจินเข้าใจ ‘ความมุ่งหมาย’ ของคำค้นได้ดีกว่า

ขอบคุณข้อมูลจาก: neilpatel.com

3 – จากพฤติกรรมการเสิร์ชของ User การเสิร์ชด้วยเสียงจะต้องให้ผลเสิร์ชแบบ Real-time และมีความแม่นยำมากขึ้น ซึ่งผลเสิร์ชที่ว่ารวมไปถึงผลเสิร์ชที่ขึ้นโดยอิงจาก Location ที่ผู้ใช้อยู่ (ฉะนั้น การมีชื่อกิจการของเราขึ้นอยู่ใน Google Maps แถมมีรายละเอียดชัดเจนจะดีกับคุณนะคะ)

แผนทำ SEO สำหรับ Voice search

จากลักษณะพื้นฐานของ Voice search เบื้องต้น เราจะสามารถออพติไมซ์ได้ดังนี้ค่ะ:

1 – จัดโครงสร้างข้อมูล (Structured data) วิธีนี้มีมาค่อนข้างนานแล้ว แต่ก็ยังไม่ค่อยนิยมทำกันเท่าไรนัก การที่คุณยอมลงแรงเพิ่มเพื่อทำ Mark-up กับคอนเทนต์ในเว็บไซต์ของคุณก็จะทำให้เสิร์ช เอ็นจินเข้าใจเนื้อหาของเราได้ดีขึ้น ทีนี้ การจัดโครงสร้างข้อมูลคืออะไรกันแน่? สิ่งนี้จะกระทำในระดับโค้ด จะมองว่าเป็นการใส่คอมเมนต์ หรือหมายเหตุไว้ที่ข้อมูลสำคัญ ๆ เช่น ราคาสินค้า, ชื่อสินค้า ฯลฯ เพื่อให้เสิร์ชเอ็นจินรู้ว่าข้อมูลที่กำลังดูอยู่คือราคา, ชื่อ, เบอร์โทร เป็นต้น

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของโค้ดที่มีและไม่มี Microdata Mark-up (Structured data) ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก: schema.org
ขอบคุณข้อมูลจาก: schema.org

2 – ถ้าคุณยังไม่ได้ทำอันนี้ ก็ได้เวลาสุด ๆ แล้วล่ะค่ะที่จะลงทะเบียนใน Google My Business Listing  ทำแล้วข้อมูลของคุณก็จะได้รับการออพติไมซ์ที่ดีขึ้นสำหรับ SEO ทางด้าน Location เมื่อถึงวันที่การเสิร์ชด้วยเสียงเป็นที่นิยมมากที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก: Google Support

3 – ออพติไมซ์เว็บไซต์ของคุณให้เหมาะกับการใช้งานบนมือถือ ถ้าทำไปแล้ว ก็ทำให้ได้คะแนนความง่ายในการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาสูง ๆ นะคะ  เพราะว่าถึงยังไง คนก็จะเสิร์ชด้วยเสียงบนอุปกรณ์พกพากันอยู่แล้ว

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: neilpatel.com

ฝากไว้ให้คิดเล่น ๆ: Voice search จะเป็นตัวเปิดโลก IOT (Internet of Things) หรือเปล่า?   ใครจะรู้ ต่อไปคุณอาจจะเสิร์ชหาสินค้าที่ต้องการด้วยเสียง และอุปกรณ์/เครื่องจักรอัจฉริยะก็จะรับออร์เดอร์ จากนั้นระบบขนส่งสินค้าอัตโนมัติก็จะส่งสินค้านั้น ๆ ไปถึงหน้าบ้านคุณ  โดยการบวนการนี้ทำผ่านอินเทอร์เน็ตแทบทั้งหมดก็ได้! ว่ามั้ย?!