เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา คุณอาจสะดุดตากับพาดหัวข่าวเช่น “Big data meets Big Brother as China moves to rate its citizens” ซึ่งพูดถึงแผนของรัฐบาลจีนที่จะเริ่มใช้ระบบ Social Credit สำหรับให้คะแนนความน่าเชื่อถือของประชาชนชาวจีนทั้ง 1 พัน 3 ร้อยล้านคนก่อนปี 2020 โดยที่ระบบนี้จะอาศัยเทคโนโลยีร่วมกับโครงสร้างอินเทอร์เน็ตภายในที่เชื่อถือได้
“Rachel Botsman ผู้เขียน ‘Who Can You Trust?’ กล่าวไว้ในเรื่องนี้ว่า “คนที่มีคะแนนต่ำจะได้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วต่ำกว่า เข้าร้านอาหารได้จำกัดกว่า และถูกเพิกถอนสิทธิในการเดินทาง’
เมื่อช่วงต้นปีนี้เอง Singtel และสถาบัน DQ Institute ได้เริ่มโปรแกรมด้านสติปัญญาทางดิจิทัลในโรงเรียนประถมของสิงคโปร์หลาย ๆ แห่ง ในขณะที่ Mckinsey & Company ได้เริ่มใช้โปรแกรมการประเมิน Digital 20/20 (Discover Your Digital Future) แล้ว
กิจกรรมการเคลื่อนไหวเรื่องนี้ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกนี้แสดงให้เห็นถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับยุคดิจิทัลในอนาคต ฉะนั้น การเป็นพลเมืองดิจิทัลจึงไม่ใช่เรื่องที่จำกัดอยู่แค่ในวงแคบ ๆ อีกต่อไป แต่กำลังกลายเป็นบรรทัดฐานของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับคน Gen Z ทั้งหลาย ในขณะที่เจ้าของธุรกิจต่างง่วนอยู่กับการเตรียมตัวรับ Internet of Things, ปัญญาประดิษฐ์, เทคโนโลยีอัจฉริยะ และหุ่นยนต์ ส่วนที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลยเพื่อที่จะเตรียมความพร้อมก้าวสู่อนาคตยุคดิจิทัล และนโยบายประเทศไทย 4.0 ก็คือเหล่าคนรุ่นใหม่ และน้อง ๆ เยาวชนที่กำลังเติบโต
ต่อไปในอนาคต แค่รู้ว่าอินเทอร์เน็ตใช้งานอย่างไร, เขียนโค้ดยังไง, กระบวนการการตลาดดิจิทัลเป็นยังไง, มีทักษะทาง social media และเครื่องมือสืบค้น คงไม่เพียงพออีกแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม สิ่งที่ควรเน้นกลับเป็นเรื่องพื้นฐานเช่น จริยธรรม, ค่านิยม และบุกคลิกภาพ เพื่อที่ให้ระบบนี้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง Digital Quotient จะเริ่มเข้ามามีบทบาทตรงนี้แหละ
จาก IQ สู่ EQ ไปจนถึง LQ (Love Quotient ของแจ็ค หม่า) และในที่สุด DQ (Digital Quotient)
แล้ว DQ คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ? เมื่อปีที่แล้ว สภาสูงแห่งสหราชอาณาจักรกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “ความรู้ด้านดิจิทัลต้องมีควบคู่ไปกับทักษะการอ่อน, การเขียน และทักษะทางคณิตศาสตร์ ในฐานะเสาหลักการศึกษาต้นที่สี่สำหรับเยาวชน และนักเรียนทุกคนไม่ควรจบการศึกษาออกมาโดยขาดความรู้ความเข้าใจโลกดิจิทัล” และนี่คือที่มาที่ไปของรายงานเรื่อง ‘Growing up with the internet’ นั่นเอง
จากข้างต้น สิ่งที่จะทำให้เกิด DQ ในระดับสูงที่สุดก็จะมี:
- ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship): ความสามารถในการปฏิบัติตามกฎ หรือข้อปฏิบัติต่าง ๆ และรับรู้ถึงอันตรายที่แฝงอยู่ในโลกออนไลน์ได้
- ความสร้างสรรค์ทางดิจิทัล (Digital Creativity): ความสามารถใช้การใช้เครื่องมือ อาทิ ในการสร้างคอนเทนต์ หรือการเรียนรู้การเขียนโค้ด
- ความเป็นผู้ประกอบการทางดิจิทัล (Digital Entrepreneurship): ความสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลง และนวัตกรรมใหม่ ๆ
ฉะนั้น คำว่าดิจิทัลจึงไม่ได้ครอบคลุมแค่เรื่องการตลาด หรือการใช้ Adwords อีกต่อไป แต่ยังรวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในการเป็นพลเมืองดิจิทัลให้แก่คนรุ่นต่อไป แถมยังเป็นกระแสระดับโลกอีกด้วย และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่อนาคตยุคดิจิทัลนี่แหละจะเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถบอกเราได้ว่าเศรษฐกิจในอนาคตของเราจะเติบโตไปได้ไกลแค่ไหน
จากอดีตที่ผ่านมา พอมาถึงจุดหนึ่ง ภาษาอังกฤษได้กลายมาเป็นภาษากลางที่ประเทศต่าง ๆ ใช้สื่อสารกัน ภาษาดิจิทัลก็กำลังจะเป็นอย่างนั้น อีกหน่อย ความรู้ความเข้าใจในกลไกการทำงานของอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมไปถึงบรรดาข้อควรปฏิบัติในฐานะพลเมืองดิจิทัลจะไม่ใช่แค่เรื่องที่ “รู้ไว้ก็ดี” หากแต่เป็นสิ่งที่ “ต้องรู้” ไว้เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคนรุ่นใหม่
อย่างไรก็ดี ความเป็นพลเมืองดิจิทัลไม่ใช่เพียงเรื่องของเยาวชนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของคนรุ่นก่อนหน้าด้วย เพราะไม่ว่าเทคโนโลยีจะแผ่อิทธิพลเข้าสู่ชีวิตเราอย่างรวดเร็วขนาดไหน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะถ้าทำอย่างนั้นก็รังแต่จะเพิ่มช่องว่างระหว่างคนที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกันใช่มั้ยล่ะ ? เหล่าคุณตาคุณยายควรจะ LINE หรือ Whatsapp คุยกับหลานเป็น ส่วนครอบครัวที่อยู่คนละประเทศกันก็ควรสามารถเล่นเกมด้วยกันเพื่อใช้เวลาร่วมกันได้ เป็นต้น
ปัจจุบันนี้ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล และการสั่งสมสติปัญญาทางดิจิทัลไม่ใช่แค่เรื่องของเหล่าคนทำงานองค์กรที่อยู่ในสาขาดิจิทัลอีกต่อไปแล้ว แต่ทั้งคุณพ่อคุณแม่, เด็ก ๆ, คุณครู และบุคลากรด้านการเรียนการสอนก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน