เคยถามตัวเองมั้ยว่าทำไมการตลาดดิจิทัลถึงจำเป็น? เคยกลัวที่จะต้องก้าวเข้าสู่ระบบดิจิทัลมั้ย? ไม่ว่าเหตุผลของคุณจะเป็นอะไร การตลาดดิจิทัลก็จำเป็นกับคุณในการปูทางสู่ความสำเร็จ คุณควรจะทำการตลาดดิจิทัลไม่ใช่เพราะใคร ๆ ก็ทำ แต่ควรทำเพื่อตัวของคุณเอง แล้วคอยเฝ้าดูมันผลิดอกออกผลให้ชื่นใจ
จะเล่าให้ฟังนะ สมัยเพิ่งเริ่มทำการตลาดดิจิทัล คนเขียนก็คิดว่ามันไม่มีประโยชน์เหมือนกัน แรก ๆ ก็คิดว่า “แล้วเราจะไปมีปัญญาแข่งกับพวกแบรนด์ดัง ๆ เก๋า ๆ ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหาได้ไง?” แต่หลังจากทำงานในวงการนี้สักพักก็พบว่าของมันต้องมีจริง ๆ เพราะว่าถ้าอุตส่าห์สร้างแบรนด์ขึ้นมา แต่ดันไม่มีใครรู้ว่ามีแบรนด์ของเราอยู่ในโลกนี้นอกจากเรากับเพื่อนร่วมงาน จะทำไปทำไม จริงมั้ย?
ถ้าคุณเข้าใจที่เราร่ายมาข้างบน มาฟังเราร่ายต่อเรื่องเหตุผลสิบข้อที่คุณควรทำการตลาดดิจิทัล แล้วก็ควรสนิทกับมันให้มาก ๆ!
กระตุ้นให้เกิด Brand Recognition
Brand recognition ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการทำการตลาดดิจิทัล เพราะจะช่วยให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักในคนหมู่มาก ในโลกดิจิทัลใบนี้ เราต้องปรากฏตัวให้ปัง ๆ โดยใช้ทุกช่องทางที่เป็นไปได้เช่น เว็บไซต์ และโซเชียล มีเดีย (Facebook, Twitter, Instagram ฯลฯ) แม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นผู้นำทุกช่องทางตั้งแต่แรกเริ่ม แต่เราก็ต้องทำเพจไว้เพื่อให้คนหาผลิตภัณฑ์ของเราเจอไงล่ะ
คุ้มค่าใช้จ่าย
จริง ๆ แล้วการตลาดดิจิทัลเป็นเรื่องที่คุ้มค่าใช้จ่ายนะ ถามว่าคุ้มยังไง? คือคุณไม่จำเป็นต้องจัดงบแยกต่างหากสำหรับโฆษณาแบบเดิม ๆ แต่ใช้งบจ้างครีเอทีฟหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลมาช่วยแนะนำว่าขั้นต่อไปควรทำอะไร กล่าวคือเงินที่เสียไปก็จะไปลงกับมันสมอง ทรัพยากรบุคคล และไอเดียการสร้างสรรค์ต่าง ๆ (Shutterstock ฯลฯ) ไงล่ะ
ดีกว่าการตลาดแบบเดิม
ในอดีต การตลาดแบบดั้งเดิมอาจตอบโจทย์ในการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และถึงแม้ว่ายังคงใช้ได้อยู่ในปัจจุบัน แต่ประสิทธิภาพก็จะไม่เท่าแบบดิจิทัล ทำไมน่ะเหรอ? เพราะในการทำการตลาดแบบเก่า คุณเลือกไม่ได้ว่าอยากให้ใครเห็นโฆษณาของคุณบ้าง ในขณะที่ถ้าเป็นการตลาดดิจิทัล คุณเลือกได้เลย แถมยังดีกับสิ่งแวดล้อมด้วยนะ ไม่ต้องพริ้นท์โฆษณา แผ่นพับ หรือโบรชัวร์อะไรเลย เริ่ศจะตาย เนอะ?
ส่งสารได้ตรงเป้าหมายยิ่งขึ้น
ลองถามตัวเองดูว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณเป็นใคร? เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนคอนเทนต์และกลยุทธให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ถ้าคุณเข้าใจดีแล้วว่าใครเป็นเป้าหมายของคุณ ก็จะสามารถปรับ Brand persona ให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้เลย
ยกตัวอย่างเช่นใน Facebook คุณสามารถำหนดกลุ่มเป้าหมายให้แคบลงมาตามช่วงอายุ พื้นที่อาศัย และเพศได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีกว่าที่จะพาโพสต์ของคุณไปอยู่ในสายตาของกลุ่มคนที่สนใจจริง ๆ หากคุณยังไม่แน่ใจว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณเป็นใคร ลองเปิดแอคเคาท์ Google Analytics แล้วใช้ Tracking code กับเว็บไซต์ของคุณดูก็ได้ แต่! ถ้าสิ่งเหล่านี้ฟังดูยุ่งไปสำหรับคุณ ก็ลองคุยกับผู้เชี่ยวชาญการตลาดดิจิทัลได้นะ ! อิ อิ
การออพติไมซ์
การออพติไมซ์คอนเทนต์สำคัญอย่างมากในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับคุณ และสิ่งที่คุณสามารถให้แก่ลูกค้าได้ ทีนี้ จะยังไงทำให้คนเห็นคอนเทนต์ของคุณมากที่สุดท่ามกลางกองทัพคู่แข่ง? มาดูกันเลยจ้า:
การออพติไมซ์คอนเทนต์: คำว่า Content is king. ยังคงใช้ได้เสมอกับทุก ๆ ช่องทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงดิจิทัล เรามาเริ่มด้วยการทำความรู้จักกับคอนเทนต์ 4 กลุ่มหลักในการตลาดคอนเทนต์ (หรือที่เรียกว่า Content marketing matrix): ให้ข้อมูล สร้างแรงบันดาลใจ ให้ความบันเทิง และจูงใจ คอนเทนต์ของคุณควรมีคุณสมบัติสี่แบบนี้ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมไหนก็ตาม เดี๋ยวนี้คนใช้อินเทอร์เน็ตหาข้อมูลกันเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นคอนเทนต์ของคุณควรจะให้ข้อมูลที่เขาเหล่านั้นต้องการ
การออพติไมซ์รูปภาพ: การออพติไมซ์ Title และ alt tag ของรูปภาพที่ใช้เป็นสิ่งที่ควรทำ นอกจากนี้ หากคุณต้องการลดเวลาดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ของคุณ ให้ใช้สกุล jpg สำหรับรูป และ png สำหรับ Vector
การออพติไมซ์เว็บไซต์: ความเร็วของเว็บไซต์มีผลต่อเวลาในการเข้าชมเว็บไซต์จริงมั้ย? เอาเป็นว่าไซต์ที่โหลดหน้าไม่เสร็จภายใน 3 วินาทีจะมีสูงขึ้น 60-80% เลยนะ นอกจากนี้ ไซต์ของคุณไม่ควรใช้โค้ดที่ซับซ้อนอีรุงตุงนัง หรือ javascript ที่มากเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เว็บไซต์ช้าลงไปอีก
อ้อ จะบอกว่าความเร็วของเว็บไซต์ และจำนวนเวลาที่ใช้ในการโหลดมีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง Technical SEO ด้วยนะ
การออพติไมซ์วิดีโอ: 90% ของข้อมูลที่ถูกส่งไปยังสมองของคุณเป็นภาพ และคนประมาณ 70-75% ก็ตอบสนองกับภาพได้ดีกว่า วิดีโอจึงเป็นประเภทคอนเทนต์ที่ผู้ชมชื่นชอบ และเป็นตัวกระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อที่ดี แล้วจะออพติไมซ์คอนเทนต์ชนิดนี้ได้ยังไงบ้าง? ก็ปรับชื่อวิดีโอ รายละเอียด ถอดความเนื้อหาวิดีโอ แล้วโพสต์ในที่ที่จำเป็น ถ้าคุณโพสต์วิดีโอใน YouTube ก็ควรเอ็มเบดโค้ดไว้บนเว็บไซต์ของคุณ แล้วก็โพสต์ Transcription ของวิดีโอเอาไว้ด้วยนะ
แล้วแบบนี้แปลว่าต้องใช้คอนเทนต์ภาพตลอดเลยเหรอ? ไม่ต้องงงง ก็แค่ใช้ภาพกระตุ้นสมองให้คนดู “เกิดความรู้สึก” ต่าง ๆ บ้างอะไรบ้างก็พอค่ะ
การออพติไมซ์สำหรับ SEO
ใช่แล้ว ในโลกดิจิทัลเดี๋ยวนี้ SEO จำเป็นกับคุณจริง ๆ นั่นแหละ นั่นก็เพราะ Google จะชอบแสดงเว็บไซต์ที่มีคอนเทนต์ซึ่งมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ดึงดูดความสนใจได้ดี และตอบคำถามของผู้ใช้นั่นเอง ในปี 2010 Google ประกาศใช้อัลกอริธึม Hummingbird ที่เน้นเช็คความสามารถของเว็บไซต์ในการตอบคำถามของผู้ใช้ ซึ่งสิ่งนี้เรียกอีกอย่างว่า Conversational search แต่การใช้คีย์เวิร์ดก็ยังสำคัญอยู่นะ
แล้วเราจะออพติไมซ์คีย์เวิร์ดยังไงดี? เราลองมาเทียบการใช้คีย์เวิร์ดแบบยาวที่มีความเฉพาะเจาะจงหรือ Long tail SEO keywords และก็คีย์เวิร์ดทั่วไปที่กินความหมายกว้าง (generic keywords) ดู คีย์เวิร์ดแบบ Long tail จะมีโอกาสมากกว่าที่จะถูก Google จับไปขึ้นหน้าแรก แต่ก็อย่าเน้นใส่คีย์เวิร์ดจนถึงขั้นยัดล่ะ อันนั้นไม่ดีแล้ว
สะดวกกว่าสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์แบบพกพา
รู้หรือไม่? คนเข้าเว็บผ่านมือถือมากกว่าคอมพ์ตั้งโต๊ะตั้งแต่ปี 2015 แล้วนะ ถ้าคุณมีแผนปรับเว็บไซต์ใหม่ ก็จัดได้เลย และถ้าจะให้ดี ควรดีไซน์ให้เป็นแบบ Responsive หรือ Adaptive ด้วย
เมื่อเร็ว ๆ นี้ Google เริ่มให้ความสนใจกับผลการเสิร์ชในมือถือแล้วนะ โดยเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อมือถือจะขึ้นอันดับดีกว่าเวอร์ชันคอมพ์ค่ะ
ได้ ROI ดีกว่า
การทำการตลาดดิจิทัลวัดผลได้นะ แล้วเครื่องมือที่ช่วยวัดผลเหล่านั้นก็หาได้ง่าย ๆ ในอินเทอร์เน็ตด้วยค่ะ
กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ไม่ควรจำกัดอยู่แค่ในรูปแบบบทความหรือบล็อกเท่านั้น เพราะคุณทำได้เยอะกว่านั้นอีก! จัดไปเลยPodcast, Infographic, วิดีโอกราฟฟิก แล้วก็วิดีโอใด ๆ ให้ไอเดียไหลมาเทมาเรื่อย ๆ เล้ย! แต่ถ้าเกิดมันออกจะล้นมือไปนิด จ้างกูรูกราฟฟิกมาช่วยก็ได้จ้า
แต่ว่า! ก่อนจะจ้างกราฟฟิก ขอให้กำหนดน้ำเสียงที่จะใช้ สี (แพนโทน) และบุคลิกของแบรนด์ตัวเองให้ชัดเจนก่อนจะดีมากเลย
รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างดีงาม
การรักษาลูกค้าวิธีไหนจะดีไปกว่าการพูดคุยกันบ่อย ๆ ล่ะเนอะ? เพจที่มีอัตราการตอบกลับสูงจะรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเอาไว้ได้ดีกว่า นั่นก็เพราะการตอบกลับแสดงถึงความใส่ใจต่อลูกค้า และถ้าจะให้ดี เวลาลูกค้าทิ้งข้อความหรือคำถามไว้ ควรตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมงนะคะ
หวังว่าบทความนี้จะให้ข้อมูลด้านการตลาดดิจิทัลที่เป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านนะคะ ก็บอกตรง ๆ ว่าแรก ๆ มันอาจจะเห็นผลช้าสักหน่อย คุณอาจจะยังไม่เห็น Lead กับ Conversion ในทันที ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย มันเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาสักพักถึงจะเห็นผล และจะต้องผ่านการลองผิดลองถูกอีกมากเพื่อที่จะให้พบกลยุทธที่เหมาะกับคุณ เพราะการทำการตลาดดิจิทัลไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แผนที่ใคร ๆ ก็บอกว่าเวิร์คกับอาจจะไม่ได้เวิร์คสำหรับทุกคนก็ได้
ถึงตอนนี้แล้ว ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเอายังไงต่อไปดี คุยกับทีมผู้เชี่ยวชาญของเราได้นะ ให้เราช่วยคุณโบยบินไปในโลกดิจิทัลลล! (มีความเว่อร์วัง ฮ่า ๆๆๆ)
เจอกันบทความหน้านะ
Narisa (The Wordsmith)