Digital Perseverance: กลยุทธการป้องกันของคุณแข็งแกร่งเท่ากลยุทธการตลาดแบบรุกหรือไม่

Digital Perseverance: กลยุทธการป้องกันของคุณแข็งแกร่งเท่ากลยุทธการตลาดแบบรุกหรือไม่

ในการแข่งกีฬานั้นโดยทั่วไปจะมีการวางกลยุทธอยู่สองแบบ คือ การบุกและการตั้งรับ  ทุกทีมจะถูกฝึกให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปกระบวนได้อย่างรวดเร็วให้เหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อต่อกรกับฝ่ายตรงข้าม

เมื่อทีมเห็นโอกาสในการทำคะแนน ก็ควรจะเปลี่ยนกลยุทธเป็นการบุกในทันทีหรือในกรณีที่เจอคู่แข่งที่เก่งกว่าหรือ เราไม่แน่ใจว่าคู่ต่อสู้จะบุกอย่างไร เราก็ควรจะสามาถเปลี่ยนรูปกระบวนเป็นแบบตั้งรับได้อย่างทันท่วงที เพื่อไม่ให้เราเสียคะแนน

ในการทำธุรกิจก็เช่นกัน

วันนี้เรามาพูดถึง Digital Perseverance กันดีกว่า

โลกปัจจุบันเรียกได้ว่า ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตัลอย่างเต็มตัว สถานการณ์โควิด-19 ก็ดูเหมือนว่า จะเข้ามาเร่งกระบวนการการเข้าสู่ยุคดิจิตัลให้เร็วขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การทำ Digital transformation นั้น ไม่ใช่แค่เรื่องของการทำดิจิตัลมาเก็ตติ้ง หรือการมีเครื่องมือเท่ ๆ ราคาแพง ๆ หรือแค่การมีข้อมูลจำนวนมาก ๆ แต่สิ่งสำคัญคือ การที่เราทำอะไรกับเครื่องมือที่เราซื้อมา หรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่อย่างไรต่างหาก 

ซึ่งการมีแผนการทำงานที่ดีเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้การคนทำงานที่เก่ง และที่สำคัญที่สุดคือ วินัยในการทำตามแผนให้สำเร็จลุล่วง 

ในขณะที่คำว่า Digital Transformation อาจจะฟังดูดี เหมือนว่า เรากำลังชนะเกมด้วยกลยุทธแบบรุก Digital Perseverance ควรจะเป็นคำที่นักการตลาดยุคดิจิตัลโฟกัสให้มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่สถานการณ์ในโลกเต็มไปความไม่แน่นอน เรายิ่งต้องเน้นกลยุทธแบบรับให้มากขึ้น

คำถามคือ แล้วในฐานะคนทำธุรกิจ เราควรโฟกัสที่เรื่องอะไร ถึงจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของกลยุทธของเราได้

1 – Cyber Security Protocol มาตรการการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์

ยังจำได้มั้ย ตอสมีการรณรงค์เรื่องการไม่แชร์พาสเวิร์ดของเราให้ใคร ไหนจะเรื่องไฟร์วอลล์ (Firewall) ทุกวันนี้ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อคนจำนวนมากต้องทำงานจากบ้าน

สิ่งสำคัญที่เราควรเข้าใจอันดับแรกคือ การทำงานจากบ้าน การรักษาระยะห่างทางสังคม หรือการกักตัวนั้นไม่ใช่ปรากฏการณ์ทางสังคมแบบชั่วครั้งชั่วคราว นี่คือ นิวนอร์มอล นี่คือ วิถีชีวิตแบบใหม่ที่ยิ่งเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับมันได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์กับเรามากเท่านั้น แม้ว่า วันหนึ่งในอนาคตจะมีวัคซีนมารักษาไวรัสโควิด-19 แต่อย่าลืมว่า คนส่วนใหญ่หรือแม้แต่บริษัทได้ปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตแบบใหม่นี้ไปแล้ว และก็เป็นการยากที่จะเปลี่ยนนิสัยกลับไปกลับมา

บริษัทยักษ์ใหญ่หลาย ๆ แห่งไม่เพียงแต่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่หลาย ๆ บริษัทได้ปรับตัวและนำกลยุทธมาแก้ปัญหาระดับองค์กรเรียบร้อยแล้ว อย่างเช่น SIEMENS ก็ได้บรรจุการทำงานระยะไกล (Mobile Working) เข้าไปเป็นนิวนอร์มอลสำหรับพนักงานกว่า 140,000 คน ใน 43 ประเทศเป็นที่เรียบร้อย

2 – Online Project Management  การจัดการโปรเจ็คออนไลน์

ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะใช้เทคนิค agile, scrum หรือ kanban ในการจัดการโปรเจ็คงาน หรือใช้โปรเจ็คเมเนเจอร์ก็ตาม 

สิ่งที่สำคัญกว่าคือ การจัดการโปรเจ็คนั้นถูกนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างไร

ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเครื่องมือให้ถูกกับงาน หรือการทำให้แน่ใจว่าทุกคนในทีมรู้วิธีการใช้เครื่องมือนั้น ๆ หรือการบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ ที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น การมีแผนการจัดการโปรเจ็คที่ดีและกลยุทธที่ถูกต้องจะช่วยให้ธุรกิจสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการได้

3 – Repository Regulation ข้อบังคับเรื่องการจัดเก็บข้อมูล

คนส่วนใหญ่อาจจะคิดแค่ว่า นิวนอร์มอลอาจจะพูดถึงแค่เรื่องการทำงานจากบ้านหรือการจัดการการสื่อสารกับลูกค้า แต่อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การบริหารจัดการไฟล์เอกสารต่าง ๆ 

ต่อไปความจำเป็นเรื่องการมีเซิร์ฟเวอร์วางอยู่ในห้องเซิร์ฟเวอร์จะกลายเป็นเรื่องของอดีต คลาวด์เซิร์ฟเวอร์ (Cloud Server) ต่างหากคือ นิวนอร์มอลที่แท้ทรู

นี่แค่ภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น การสลับจากเซิร์ฟเวอร์ในสำนักงานมาเป็นคลาวเซิร์ฟเวอร์ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ 

การสร้างปราการป้องกันระบบที่ดีนั้น ไม่ใช่สักแต่ว่าซื้อเซิร์ฟเวอร์ที่ดีที่สุดแล้วก็ยัดทุกอย่างลงไปในนั้น สิ่งสำคัญ คือ การควบคุมดูแลที่ถูกต้อง การแบ็คอัพ และมาตรการในการฟื้นฟูข้อมูลหรือการ restore การทำ storage segmentation IT handbook ที่มีจงนำมาปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด (หรือถ้าบริษัทไหนยังไม่มี รีบทำเลยบัดเดี๋ยวนี้) 

4 – การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบออนไลน์

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) แบบออนไลน์อาจจะยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับ HR หลาย ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นการคุยกันแบบตัวต่อตัว การประชุมก็จะต้องถูกปรับมาเป็นแบบออนไลน์ การขออนุมัติวันลาควรจะสามารถทำได้ออนไลน์ การสัมภาษณ์หรือการประเมินผลงานทำงาน การส่งใบเตือน การขอ reimbursement แบบออนไลน์

ถ้าเทียบกับการเล่นกีฬา คือ ช่วงที่ทีมเรากำลังทำแต้มได้ติด ๆ กัน เราก็ควรจะเน้นไปที่การบุกมากขึ้น พูดง่าย ๆ ก็คือ ฝ่ายเซลกับฝ่ายการตลาดของบริษัทนั่นเอง 

แต่เมื่อเรากำลังอยู่ในโหมดป้องกันเพื่อลดดาเมจหรือรอโอกาส สิ่งที่เราต้องการคือ ความอึด ความถึก การสื่อสารภายในทีมเป็นเรื่องสำคัญมาก และทุกคนในทีมต้องร่วมมือร่วมใจกัน

ในฐานะหัวหน้าทีม บางทีเราอาจจะต้องคอยดูพฤติกรรมของผู้เล่นที่เป็นปัญหา ที่ต้องเอามานั่งข้างสนาม แล้วเอาผู้เล่นอื่นที่มีพลังงานเชิงบวกลงไปเล่นแทน

ความท้าทายคือ การทำกิจกรรมเหล่านี้ออนไลน์ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เดิมทีการทำ HRM ก็ยากอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อเพิ่มปัจจัยเรื่องระยะทางและการต้องทำออนไลน์เข้าไปอีก ก็ยิ่งยาก เพราะปัจจัยที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของกลยุทธแบบตั้งรับที่ดี คือการสร้างความเชื่อมั่น เพื่อลดความกำกวมในการสื่อสาร

ฉะนั้น แทนที่จะมัวแต่รอ เราก็ควรจะเริ่มตั้งแต่วันนี้เลย อาจจะเริ่มจากอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็ควรจะเริ่มทำเลย 

ถ้ายังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มยังไง ลองมาคุยกับเรา เพิ่มเริ่มทำdigital transformation, aka digital perseverance

ลองดูเซอร์วิสทั้งหมดที่เราให้บริการได้ที่นี่ หรือจะลองติดต่อ ชาว Enabler แล้วลองมาคุยกันดู