แยกออกมั้ย? Content Optimization กับ SEO

คุณน่าจะเคยได้ยินคำว่า Search Engine Optimization และ Content optimization กันมาแล้วใช่มั้ยคะ แต่รู้หรือไม่? ว่าสองอย่างนี้ ถึงจะเหมือนกันตรงที่ช่วยให้เว็บไซต์ของเราได้อันดับดี ๆ ในการเสิร์ช แต่จริง ๆ แล้วต่างกันพอสมควรเลย อันความรู้นั้นหรือก็คืออำนาจ มาค่ะ! เดี๋ยวจะบอกให้ว่าสองสิ่งนี้เหมือนหรือต่างกันตรงไหนบ้าง

คู่แท้ที่ขาดกันไม่ได้

คุณคงจะเคยเจอสองคำนี้บ่อย ๆ เช่นในบทความหลาย ๆ ชิ้น และเป็นไปได้ว่าคงจะเคยเห็นเค้าเขียนกันว่าคอนเทนต์จะช่วยสนับสนุนต่อ SEO และ SEO ก็จะช่วยสนับสนุนคอนเทนต์เช่นกัน  ใช่แล้วค่ะ สองอย่างนี้เป็นแพคคู่ที่คุณจะขาดไม่ได้เลยในโลกที่หมุนอย่างเร้วเร็วใบนี้   แล้วสองอย่างนี้สำคัญอย่างไรกับคนที่เพิ่งก้าวเข้าสู่โลกของ SEO และ Content optimization? ก่อนอื่น มาดูความหมายของสองคำนี้ก่อนดีกว่า

Search Engine Optimization (SEO): สิ่งที่คุณทำเพื่อให้คนมองเห็นคุณมากขึ้นในโลกออนไลน์โดยใช้วิธีแบบ Organic เพื่อให้ได้อันดับดี ๆ ใน Search engine ซึ่งการใช้คีย์เวิร์ดจะเป็นหัวใจหลักของการทำ SEO

Content optimization: การปรับคอนเทนต์เพื่อให้ข้อมูลแก่ User เกี่ยวกับตัวคุณและแบรนด์ของคุณอย่างเหมาะสม โดย Search engine จะส่งบ็อทมา Crawl และบันทึกคอนเทนต์ที่คุณเขียนและโพสต์ออนไลน์เข้าสู่ Index   อย่างไรก็ดี คอนเทนต์ไม่ได้จำกัดรูปแบบอยู่แค่บทความ แต่ยังเป็นภาพ, อินโฟกราฟิก, วิดีโอ และพ็อดคาสต์ได้ด้วยนะ!

นอกจากนี้ Google ยังดูพวก Meta title, description หรือแม้แต่ alt text ด้วย

เริ่มเห็นความต่างแล้วยังคะ? หลัก ๆ แล้ว SEO จะเป็นเรื่องของคีย์เวิร์ดที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณได้อันดับที่ดีอย่างเป็นธรรมชาติ ส่วน Content optimization จะใช้คีย์เวิร์ดเหล่านั้นในประโยคเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ของคุณขึ้นอันดับดี ๆ และเป็นที่รู้จักมากขึ้น   อย่างไรก็ดี ก่อนจะพูดถึงกลไกการทำงานของทั้งสองอย่างนี้ มาดูเรื่องอากู๋ Google สุดที่รักกันก่อนดีกว่า

เรียนรู้จากอากู๋ฉบับย่อ

Google ของเราก็ผ่านการวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยเป็นนักล่าคีย์เวิร์ดมาจัดอันดับ มาเป็นผู้ดำเนินการประมูลผู้เก็บรายละเอียดที่จะเลือกเฉพาะเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องมาโชว์เท่านั้น   ตลอดระยะเวลาหลายปี Google ได้ผ่านการโมฯและประกาศความเปลี่ยนแปลงมากมาย   จนปี 2011 อากู๋เริ่มใช้อัลกอริทึม Panda ที่ช่วยให้ Search engine จัดอันดับเว็บไซต์ต่าง ๆ และลดอันดับ (หรือกำจัด) เว็บไซต์คุณภาพต่ำ   ไซต์ที่จะโดนหมีตบก็คือพวกที่มีลักษณะเป็นสแปม, พวกฟาร์มคอนเทนต์ หรือพวกที่ได้อันดับมาแบบไม่เป็นธรรมชาติ   ถ้าจะว่ากันแบบสั้น ๆ ลงไปอีกก็คือ ถ้า Google เล็งเห็นว่าไซต์ไหนคุณภาพต่ำ หรือเป็นสแปม ก็บ๊ายบายตำแหน่งบนหน้าแรกได้เลย (หรือแย่กว่านั้น ก็จะหายไปจากหน้าผลเสิร์ชเลยจ้า)   ส่วนเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลที่ดี และมีคุณสมบัติตรงตามที่กะเกณฑ์ไว้ก็จะถูกดึงมาโชว์เป็นอันดับแรก ๆ

ต่อมาในปี 2013 Google เริ่มใช้ Hummingbird อัลกอริทึมที่ออกแบบมาเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามที่ถูกใส่เข้ามาใน Search engine   ในระหว่างปี 2013 ถึง 2015 อากู๋ของเราก็ดำเนินการปรับแต่งให้ Hummingbird ดึงคำตอบมาแสดงได้อย่างละเอียดและสอดคล้องยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญมากเลยแหละ

แต่เดี๋ยวก่อน! แล้วสิ่งนี้มันเกี่ยวกับ SEO และ Content optimization ยังไงล่ะ? จะบอกว่ามันเกี่ยวกันมากกว่าที่คิดอีกค่ะ!

อะไรที่มากกว่าที่ตาเห็น

หลังจากพูดถึงรายละเอียดที่ควรทราบเกี่ยวกับ SEO, คอนเทนต์ และ Google กันแล้ว แต่มีอะไรอีกที่เราควรรู้เพื่อให้ทันเกม   ในฐานะคนที่ต้องการจะเป็นที่รู้จักออนไลน์ และอยากให้มีการออพติไมซ์ให้สอดคล้องกับการเสิร์ชใน Google มากที่สุด คุณจะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก และมีอะไรต้องทำหลายอย่างเลย เพราะขึ้นชื่อว่าความสำเร็จแล้วไม่มีทางลัดหรอกค่ะ   ทีนี้ เราจะพาตัวเองออกไปผจญโลก (ดิจิทัล) กว้างโดยไม่ใช้เทคนิคสายดาร์กได้ยังไง? เชื่อมั้ยว่าแม้แต่ตอนนี้ก็ยังคงมีคนใช้เทคนิคด้านมืดในโลกของ SEO กันอยู่เลย  และมัน ไม่ ดี เลย จ้า

ในเมื่ออยากให้อากู๋จัดอันดับดี ๆ ให้สำหรับคีย์เวิร์ดต่าง ๆ คุณก็ต้องใช้คีย์เวิร์ดที่คุณคิดว่าเหมาะกับแบรนด์ ทั้งยังต้องพิจารณาทั้งคีย์เวิร์ดทั้งแบบสั้น (Short-tail keywords) และยาว (Long-tail keywords) อีกด้วย   เมื่อได้คีย์เวิร์ดที่ต้องการแล้ว ก็ต้องหาวิธีใส่คำเหล่านั้นเข้าไปในเนื้อหาของคุณให้เป็นธรรมชาติ แต่จำไว้นะคะว่าไม่ควรใช้วิธีอัดคีย์เวิร์ด (Keyword stuffing)

Keyword Stuffing

อึ๋ย มันคืออะไรอะ?! Keyword stuffing ก็คือการที่คุณจงใจอัดคีย์เวิร์ด และคำเหมือนของมันลงในเนื้อหาแบบไม่บันยะบันยัง โดยไม่มีโครงสร้างประโยคที่สอดคล้องกัน   สมมุติเว็บไซต์ของคุณขายเก้าอี้ แต่คุณไม่แน่ใจว่าจะทำยังไงกับมันดี ก็เลยทำแบบนี้

Keyword Stuffing
Keyword Stuffing

…เก้าอี้เยอะเว่อร์ ช่วยไปลากมาซักตัว แล้วนั่งฟังกันนิดนึงนะคะ

อย่าทำแบบนี้ (เสียงสูง)!  ใส่คีย์เวิร์ดให้เป็นธรรมชาติไว้ดีกว่า แล้วก็อย่าลืมลิงก์ไปหาเว็บอื่นบ้างอะไรบ้าง  ลิงก์ไปหน้าอื่นในเว็บไซต์ด้วยก็ได้ ทำให้ Search engine เห็นว่าเฮ้ยยย นี่เราพยายามทำให้ไซต์ได้อันดับดี ๆ อยู่นะ!

เหมือนที่พูดไปแล้วก่อนหน้านี้ว่าคอนเทนต์ไม่จำเป็นต้องเป็นบทความเพียงอย่างเดียว จัดไปเลยค่ะ อินโฟกราฟิก, วิดีโอ, พ็อดคาสต์ใด ๆ   หัวเรื่องของเนื้อหาเหล่านั้นก็ทำหน้าที่เป็นคีย์เวิร์ดได้เหมือนกัน   พยามสร้างคอนเทนต์ที่คิดว่าจะดึงดูดกลุ่มเป้าหมายของคุณ หรือทำให้พวกเค้าอยากรับข้อมูลเพิ่มเติม   อย่าเพิ่งหมดกำลังใจเวลาคนไม่กด Like กด Share คอนเทนต์ที่คุณอุตส่าห์ทำ เพราะของอย่างนี้ต้องอาศัยการลองผิดลองถูกไปเรื่อย ๆ ค่ะ   คอนเทนต์จะช่วยส่งเสริมคีย์เวิร์ดและทำให้ผู้คนในโลกรู้จักคุณได้ดียิ่งขึ้น

คู่หูดูโอ้ที่เติบโตไปด้วยกัน

ลองนึกภาพตามดูนะ ถ้าคีย์เวิร์ด SEO ของคุณก็เหมือนกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สามารถงอกได้ด้วยตัวของมันเอง   Content optimization ก็คือน้ำและปุ๋ย   ทีนี้ ถ้าคุณต้องการให้เมล็ดพันธุ์เติบโต คุณก็ต้องเลือกปุ๋ยที่ดีให้มันก่อน  และคอนเทนต์ก็คือปุ๋ยนั้น แต่ก็ใช่ว่าอยู่ ๆ คุณจะเขียนอะไรก็ได้ขึ้นมาอย่างนึง แล้วก็แค่ใส่คีย์เวิร์ดลงไปนะ  เหมือนกับการเลือกปุ๋ยนั่นแหละ คุณต้องหาคอนเทนต์ที่เหมาะสมมาซัพพอร์ตคีย์เวิร์ดที่คุณเลือก  และแน่นอนว่าหากจะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้นเติบโตจนเบ่งบาน ความใส่ใจก็สำคัญเหมือนกัน

สรุปก็คือ ยิ่งคุณเอาใจใส่มันเท่าไหร่ ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จมากเท่านั้น  พอสภาพแวดล้อมลงตัว เมล็ดพันธุ์ก็จะเจริญเติบโตออกดอกผลิบานอย่างงดงามยังไงล่ะ บรรยายเว่อร์วังนิดนึงนะคะ ฮ่า ๆๆ

เดินทางสาย ORGANIC เถิดจะเกิดผล

ไม่ว่าคุณจะทำอะไร รักษาความ organic เอาไว้นะคะ พอเวลาผ่านไป Google ก็จะเห็นความพยายามนั้น แล้วก็จะให้รางวัลแห่งความพายามแก่คุณเอง   ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องไม่ลืมว่าอันดับดี ๆ สำหรับทั้งทั้งคีย์เวิร์ด และเว็บไซต์ ไม่มีทางได้มาแบบข้ามคืนหรอกค่ะ

เอาล่ะ สุดท้ายนี้เราได้ความรู้อะไรไปบ้าง? มาทวนแบบย่อ ๆ นิดนึงก็แล้วกันนะคะ   SEO จะต้องอาศัยคีย์เวิร์ดช่วยให้ผู้ใช้เห็นเรามากขึ้น    ส่วน Content optimization คือระบบสนับสนุนการทำ SEO ที่จะเป็นตัวบอก Google ว่า “อากู๋คะ ดูนี่สิ! กำลังหาไอ้นี่อยู่ใช่มั้ย? เรามีคำตอบให้นะ!”  ลำพังคำ ๆ นี้ก็ชัดอยู่แล้วเนอะ: Content optimization คือการที่คุณทำให้คอนเทนต์มีความเกี่ยวข้อง (relevant) มากที่สุด

หวังว่าบทความสั้น ๆ นี้คงจะช่วยให้คุณเข้าใจความต่างระหว่าง SEO และ Content optimization มากขึ้นนะคะ   ทั้งสองอย่างนี้สัมพันธ์กัน แต่ไม่เหมือนกัน  และคุณจะเลือกทำแค่อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ โอเคนะคะ!

เจอกันบทความหน้านะ
Narisa (The Wordsmith)
Digital Marketing Enabler